พระยาคูขี้หอมหรือพระราชครูหลวงโพนสะเม็กพระสงฆ์ผู้มากด้วยบารมีสองฝั่งโขง ความรักความศรัทธาของผู้คนสองฝั่งโขงไทยลาวเรียกท่านว่า หลวงพ่อขี้หอม ราชครูขี้หอมหรือพระยาคูขี้หอมแล้วแต่จะเรียก เขยลาวทัวร์ขอนำเรื่องราวของท่านมาลง เพราะเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กเป็นพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำชุมชนและการเมืองสองฝั่งโขงอันยิ่งใหญ่ ที่สร้างคุณประโยชน์แก่สองประเทศไทยลาว
พระราชครูหลวงโพนสะเม็กเป็นพระสงฆ์ที่มีบทบาทสำคัญให้เกิดแคว้นลาวใต้ ชื่อจำปาสักหรือจำปาศักดิ์หรือจามปาสัก หลังจากเกิดความขัดแย้งของลาว 3 แคว้น นครเวียงจันทร์เกิดความวุ่นวายเสนาบดีชิงบัลลังก์ได้ พวกราชตระกูลต้องลี้ภัยการเมืองลงมาอาศัยอยู่นครจำบากนัคคบุรีศรี กลุ่มราชคระกูลเวียงจันทร์ที่อพยพลี้ภัยลงมานั้น มีนักปราชญ์ประจำราชวงศ์ลงมาด้วยคือพระครูยอดแก้วแห่งวัดโพนสะเม็ก รู้จัอักชื่อหนึ่งว่าพระยาคูขี้หอม มีลูกศิษย์มากติดตามมาด้วยกว่า 3,000 คน ครั้รนครกาลจำบากนัคคบุรีตกอยู่ในอำนาจของราชตระกูลลาวแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นนครจามปาสักนัคคบุรี สถาปนาเชื้อวงศ์ลาวชื่อเจ้าหน่อกษัตริย์ที่อพยพลงมาด้วยเป็นเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร
เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กได้บูรณะและสร้างปูชนียวัตถุด้วยความร่วมมือจากญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธาในตัวท่าน ผลงานที่สำคัญและยังยังปรากฏอยู่นั้น มีดังต่อไปนี้
บูรณะพระธาตุพนมตั้งแต่ชั้นที่ 2 ขึ้นไปถึงยอดสวมยอดด้วยเหล็กเปียกหรือเหล็กไหล(อยู่ข้างในองค์ปัจจุบัน) ใช้เวลา 3 ปีจึงสำเร็จ ถือว่าเป็นการบูรณะครั้งที่ 4 นับแต่ได้สร้างพระธาตุพนมในสมัยอาณาจักรโคตบอง ต่อมาพระธาตุพนมได้พังลงเมือวันที่ 11 สิงหาคม 2518 นิมิตหมายแห่งการสิ้นสุดลงแห่งวงศ์กษัตริย์ลาว ช่วงที่พระยาคูขี้หอมบูรณะพระธาตุพนมได้พำนักอยู่ที่ดอนหลี่ผีหรือดอนคอนใต้ในปัจจุบัน มีการสร้างองค์พระธาตุพนมจำลองด้วยหินรูปทรงเมือนองค์พระธาตุพนมที่หักโค่นล้ม และสร้างวิหารไว้ใกล้กันหลังนึ่ง ปัจจุบันยังคงปรากฎให้เห็นอยู่ หากได้มีโอกาสไปเที่ยวหลี่ผีลาวใต้จำปาสัก อย่าลืมแวะดูพระธาตุพนมจำลององค์นี้ด้วย
สร้างเจดีย์พนมเปญ ตำนานกล่าวไว้ว่าเมื่อพระครูหลวงโพนสะเม็กพาญาติโยมและสานุศิษย์เข้าไปในแดนกัมพูชา มีหญิงเขมรชื่อนางเปญนำพระสารีริกธาตุมาถวาย หลวงพ่อขี้หอมได้สร้างพระเจดีย์อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้าบรรจุไว้บนภูเขาเล็กๆลูกหนึ่ง จึงตั้งชื่อพระเจดีย์องค์นัน้น พระเจดีย์พนมเปญ
พระแสนพระพุทธรูปที่สร้างจากกรุงพนมเปญยังไม่สำเร็จและสร้างต่อจนสำเร็จที่เมืองเซียงแตง ครั้นเมื่อถึงรัชกาลที่ 4 ทรงทราบเรื่องพระแสนก็ต้องราชประสงค์ จึงรับสั่งอัญเชิญประดิษฐานที่วัดหงษ์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้
นอกจากนี้เจ้าพระครูหลวงโพนสะเม็กยังสร้างเจดีย์และระฆังใหญ่ไว้ที่เมืองโขง สร้างพระพุทธรูปนำไปประดิษฐานที่เกาะดอนแดงของเมืองจำปาสัก สร้างพระว่านจำปาสักที่มีชื่อเสียงอีกด้วย
อนุสาวรีย์แห่งคุณงามความดีและคุณธรรมอันประเสริฐของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กที่เห็นประจักษ์ทั่วไปในปัจจุบันคือ พระธาตุที่เมืองจำปาสัก สถานที่จัดการพระราชทานเพลิงศพ พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรสร้างวัดขึ้นเรียกวัดธาตุมาจนถึงปัจจุบัน อัฐิธาตุพระยาคูขี้หอมส่วนหนึ่งบรรจุไว้บริเวณกำแพงพระธาตุพระนมด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือเรียกว่าธาตุหลวงพ่อขี้หอม ปัจจุบันที่พระธาตุพนมปรากฎรูปหล่อท่านเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กขนาดเท่าองค์จริงประดิษฐานอยู่ใกล้ประตูทางเข้าทางด้านทิศเหนือ หากได้มีโอกาสไปนมัสการองค์พระธาตุพนมสำรวจดูนะครับ
|