นาคหรือพญานาคมาจากใหน
|
พญานาคสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ที่กลุ่มคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเคารพยกย่อง |
คนไทยและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกนับตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว เวียดนาม จีน ทิเบต รู้จักนาคหรือพญานาคกันดี จากภาพลักษณ์ของพญานาคที่สร้างมาจากจินตนาการของคนโบราณและจดจารึกไว้ กับนิยายหรือนิทานปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนว่านาคมีความสัมพันธ์กับคน ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ที่กลุ่มคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเคารพยกย่อง โดยเฉพาะกลุ่มคนสองฟากฝั่งแม่น้ำโขง ตั้งแต่ตอนใต้ของมณฑลยูนนานมาจนถึงปากแม่น้ำโขงในเขตเขมรกับเวียดนาม ถึงกับมีลัทธิบูชานาคเพราะเชื่อกันว่านาคเป็นผู้บันดาลให้เกิดแม่น้ำลำคลอง เกิดความอุดมสมบูรณ์และอาจบันดาลให้เกิดภัยพิบัติได้
บ้างก็เชื่อกันว่านาคเป็นเพศหญิงหรือตัวเมีย สัญลักษณ์ของผู้หญิงนั้นคือเมืองที่เป็นแม่ผู้ให้กำเนิดชีวิต และเป็นเจ้าแม่ผู้ถือครองแผ่นดินและแม่น้ำให้ความสมบูรณ์แก่มนุษย์
มีนิยายของอินเดียใต้และในบ้านเมืองต่างๆทางภูมิภาคเอเชียตะวันออกยกย่องว่า นางนาคเป็นบรรพสตรีแห่งตน โดยเฉพาะตำนานของอาณาจักรจามปาและอาณาจักรฟูนันในเวียดนามเหนือ อาณาจักรขอมในกัมพูชาล้วนระบุว่านางนาคเป็นเจ้าแม่ครองแผ่นดินอยู่ก่อน ภายหลังมีพราหมณ์จากเมืองไกลมาสมสู่เป็นผัวนางนาค จนออกลูกออกหลานเป็นมนุษย์และได้สร้างบ้านเมืองขึ้น
มีนิทานประจำนครธมในกัมพูชาบอกว่า นางนาคเป็นเจ้าแม่ถือครองปราสาทนครธมและเป็นเจ้าแผ่นดินทั้งราชอาณาจักร ทุกคืนจะกลายร่างเป็นหญิงสาวรูปร่างงามเพื่อเสพสังวาสกับกษัตริย์กัมพูชา หากคืนใดกษัตริย์ไม่ขึ้นเสพสังวาสตามหน้าที่จะเกิดเหตุร้ายขึ้นในบ้านเมือง
ถิ่นฐานเดิมของนาคจะมีมาแต่สมัยไหนไม่มีใครเคยกล่าวถึง มีแต่ตำนานเมืองสุวรรณโคมคำและตำนานอุรังคธาตุ ระบุว่าถิ่นฐานเดิมของนาคอยู่ที่หนองแส ซึ่งแบ่งความเชื่อออกเป็น 2 ฝ่าย
ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าหนองแสคือทะเลสาบเอ๋อไห่หรือตาลี่ฟูซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรน่านเจ้าอยู่เหนือเมืองคุนหมิงขึ้นไป
อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าหนองแสคือทะเลสาบเตียนฉืออยู่ที่เมืองคุนหมิง ไตลื้อเรียกทะเลสาบคุนหมิงว่าหนองแสมีอยู่แห่งเดียวไม่มีหนองแสที่อื่นอีกแล้วสำหรับไตลื้อ หนองน้ำที่คนไทยคิดว่าอยู่ที่น่านเจ้าแถวตาลีฟูกลับเลยสูงขึ้นไปอีกมาก นาคละทิ้งถิ่นฐานที่อยู่เดิมคือหนองแสลงมาทางใต้ พร้อมกับก่อให้เกิดแม่น้ำสายใหม่หลายสายตามตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ
ในนิทานรามายณะของอินเดียก็กล่าวถึงพญานาคไว้หลายตอน เช่น ขึ้นมาจากบาดาลมานอนขดเป็นบังลังก์ลอยน้ำให้พระวิษณุบรรทมอยู่เกษียรสมุทร ที่เรียกว่า นารายณ์บรรทมสินธุ์ใน ปางมัสยาวตาร พญานาคเคยเป็นเชือกผูกเรือของท้าวสัตยพรตหรือพระมนู ไว้กับกระโดงปลาใหญ่เมื่อคราวน้ำท่วมโลก พญานาคเคยเป็นเชือกพันภูเขามันทระให้เทวดากับอสูรดึงเข้าไปชักมา เพื่อกวนน้ำอมฤต ซึ่งเขมรได้แกะสลักหินเป็นรูปปรากฏอยู่ที่ปราสาทนครวัด
พญานาคเคยเป้นสังวาลของพระอิศวร และเป็นลูกศรให้อินทรชิตแผลงไปเพื่อทำลายทหารของพระราม นอกจากนี้พญานาคยังเป็นอีกหลายๆ อย่างในนิทานของอินเดีย เป็นพวกของทั้งยักษ์และเทวดา นิทานเกือบทุกเรื่องของอินเดียมักมีพญานาคเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บั้งไฟพญานาคขึ้นที่โขงเจียมอุบล |
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
21
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,203
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
3,101,138
|
เปิดเว็บ
|
24/11/2556
|
ปรับปรุงเว็บ
|
17/12/2566
|
|
|
|
|
21 พฤศจิกายน 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|